วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552



ความสร้างสรรค์
การคิดของคนเราจะน่าสนใจ หรือมีเสน่ห์อยู่ที่การคิด การคิดของสมองคนเราเปรียบได้กับฝนแรกที่ตกลงมาแล้วไหลไปเป็นทางน้ำ ฝนที่สอง สาม สี่ และต่อ ๆ ไปก็ตกลงมาแล้ว ไหลลงตามทางน้ำเดิม จึงเรียกได้ว่า “ฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง” เป็นเวลานาน ๆ เข้า ทางน้ำจะลึกขึ้นเรื่อย ๆ สมองของคนเราก็ทำงานเช่นนี้เหมือนกันคือเก็บข้อมูลเข้ากล่องหรือเข้ากรอบ ตัวอย่างเช่น มีพนักงานใหม่ของบริษัทแห่งหนึ่งเริ่มเข้าทำงานวันแรกออกเดินทางจากบ้านไปบริษัทและกลับจากบริษัทไปบ้านด้วยการโดยสารรถประจำทาง ถือว่าการเดินทางสำหรับวันแรกนี้เป็นประสบการณ์ของการเดินทาง พนักงานคนนี้เริ่มมีกล่องหรือกรอบในสมองแล้ว วันต่อมาออกเดินทางด้วยวิธีการเดิม แต่ปรากฏว่าวันนี้ถนนที่เคยเดินทางเส้นเดิมปิด พนักงานจึงกลับบ้านโดยไม่สนใจว่าจะมีเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชารองานอยู่ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากพนักงานคนดังกล่าวไม่รู้จักคิดหาวิธีการอื่นในการนำมาช่วยแก้ปัญหา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ “ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์” การคิดนอกกรอบหรือคิดแบบสร้างสรรค์ ไม่มีในหลักสูตรการเรียนการสอนแต่สามารถฝึกกันได้ คือการคิดจากข้อมูลหรือกล่องหนึ่ง (ประสบการณ์) เพื่อนำไปประกอบกับข้อมูลหรือกล่องอีกกล่องหนึ่งแล้วเป็นความคิดใหม่ได้ การทำงานของสมองแบบ ฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง คือถ้ามีใครสั่งให้เราต้องปฏิบัติสิ่งใดเปลี่ยนไปจากที่เราเคยทำ เราจะเกิดความไม่พอใจซึ่งเรียกว่าติด Stereo type หรือการติดรูปแบบ การนำความคิดสร้างสรรค์มาทำให้เป็นงานหรือสิ่งประดิษฐ์ out put ได้ถือว่าเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง คือต้องฝ่า Stereo type ให้ได้ ถ้าใครมีกรอบหรือกล่องในสมองมากก็จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมได้มากด้วย ถ้าข้อมูลชีวิตหรือประสบการณ์ชีวิตมากเท่าไร วิจารณญาณ การตัดสินใจและพฤติกรรม ก็จะเหมาะสมและถูกต้องตามกาลเทศะ

การร่วมกิจกรรม (จัดเก้าอี้เป็นวงกลมเท่าจำนวนผู้เข้าประชุม) สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

1. วิทยากรสั่งให้ผู้เข้าประชุมทุกคนลุกจากที่นั่งเดิม มาเลือกที่นั่งเก้าอี้ในวงกลมที่ได้จัดไว้ให้โดยเลือกที่นั่งได้ตามอิสระ ครั้งที่สองสั่งให้ผู้เข้าประชุมเปลี่ยนที่นั่งและไม่ให้นั่งใกล้คนเดิม ครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไป จับเวลาให้ทุกคนนั่งโต๊ะโดยพร้อมเพรียงและเร็วที่สุดจึงหยุดปฏิบัติ ซึ่งผลของการดำเนินการดังกล่าวสรุปได้ว่า การที่จะสั่งให้ใครเปลี่ยนพฤติกรรมไปจากเดิมที่เคยเป็นอยู่ ถือว่าเป็นการเปิดกล่องใหม่ในสมอง ซึ่งโดยปกติทุกคนจะถนัดที่จะปฏิบัติสิ่งใด ๆ ตามที่ตนเองเคยปฏิบัติอยู่ประจำ ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงและคิดว่าตนเองทำดีทำถูกต้องแล้ว วิทยากรเสนอว่า บุคคลที่คิดว่าตนเองถูกเสมอและไม่คิดจะปรับตัวหรือเชื่อถือในคำพูดหรือความคิดของผู้อื่นเลย เป็นบุคคลประเภท “ตกหลุมพรางแห่งความฉลาด” (Intelligent trap) ซึ่งคนเหล่านี้จะมีลักษณะ
1.1 ชอบโต้แย้ง มีความคิดเห็นค้านผู้อื่นตลอดเวลา
1.2 คิดว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น
1.3 หยิ่งยะโส
2. กิจกรรมเหตุการณ์สมมุติ กำหนดให้มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งนั่งอยู่ตรงกลางวงกลมที่ผู้เข้าประชุมนั่งอยู่ แล้วกำหนดพฤติกรรมให้ผู้เข้าประชุมทำ เหตุการณ์ที่ 1 ให้ทุกคนพูดเชิงลบ พูดประนาม พูดต่อว่า หรือพูดตำหนิทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องไม่จริง เหตุการณ์ที่ 2 ตรงกันข้ามให้ผู้เข้าประชุมทุกคนพูดชมเชยทางบวก เมื่อจบขั้นตอนทั้งสอง วิทยากรให้ผู้เข้าประชุมร่วมกันแสดงความคิดเห็นความรู้สึกของเด็กหญิงที่นั่งอยู่ตรงกลางวงกลมทั้งสองเหตุการณ์ ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันเสนอความคิดเห็นดังนี้

2.1 เด็กผู้หญิงในเหตุการณ์ที่ 1 จะเป็นเด็กดื่อรั้น ก้าวร้าว รุนแรง มีพฤติกรรมชอบเก็บตัว ไม่กล้าแสดงออกเพราะไม่มีความมั่นใจในตนเองว่าตนเองเป็นคนไม่ดีหรือไม่มีคุณภาพดังคำพูดของคนรอบข้างหรือไม่

2.2 เด็กผู้หญิงในเหตุการณ์ที่ 2 จะเป็นเด็กที่มีนิสัยอ่อนโยน กล้าแสดงออก เพราะมีความมั่นใจในตนเอง จนบางครั้งอาจถึงขั้นหลงตัวเอง เพราะไม่ว่าตนเองจะเป็นอย่างไร ผู้ที่อยู่รอบข้างจะเห็นดีไปหมด
วิทยากรสรุปว่าพฤติกรรม หรือความคิดสร้างสรรค์ ของคนส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม นั่นคือกรอบหรือกล่องในสมอง จะรับรู้ในสิ่งที่เป็นประสบการณ์และจะเก็บข้อมูลนั้นไว้ แล้วแสดงออกมาโดยดึงจากกล่องในสมองหรือประสบการณ์ที่ตนเองมีอยู่
เราจะปรับปรุงทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ ได้อย่างไร ?

…กล่าวกันว่า ความคิดสร้างสรรค์ และการค้นหาวิธีการแก้ปัญหา เป็นกิจกรรมสองอย่างที่เกี่ยวแขนไปกันไป. หลายปีมาแล้ว Dr. Edward de Bono, นักจิตวิทยา และนักค้นคว้าทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ส่งเสริมเรื่องของ การใช้ความคิด สร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า Lateral thinking (ความคิดข้างเคียง).
ความคิดแนวตั้ง (Verticle Thinking) จะปฏิบัติการต่อเมื่อเราพยายามที่จะแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยเริ่มต้นจาก ขั้นตอนทางตรรกะขั้นหนึ่งไปสู่ ขั้นตอนต่อไป เพื่อบรรลุผลของการแก้ปัญหา ส่วนความคิดข้างเคียง (Lateral Thinking) นั้น จะวาดภาพ แบบแผนทางความคิดซึ่งมา กับการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาโดยการที่ไม่เป็นไปตามวิธีการเดิมๆ (Unorthodox Methods) หรือการเล่นเกมส์กับข้อมูล
…การขยายความสามารถทางสมอง หรือการใช้ความคิดด้วย ความคิดสร้างสรรค์ สามารถปรับปรุงขึ้นมาได้ด้วยการปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น เราจะใช้ไม้ขีดไฟ 6 ก้านบนโต๊ะ สร้างสามเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้านเท่ากันได้อย่างไร? หลังจากที่ใช้ ความพยายามอย่างหนัก และไม่ประสบผลสำเร็จในลักษณะสองมิติ ในไม่ช้าเราก็จะเรียนรู้ว่า การทำให้มันเป็น สามเหลี่ยม ด้านเท่าสี่ด้านในรูปสามมิติ เป็นหนทางเดียวที่บรรลุผลสำเร็จได้. ดังนั้น จงหัดคิดแบบเถื่อนๆ (Think Wild) เสียบ้าง ความหมายของคำว่า คิดแบบเถื่อนๆ มิได้หมายความว่า ป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม แต่มีนัยะว่า ให้เราใช้จินตนาการทุกชนิด ของความเป็นไปได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ Imagine all kinds of possibility และหาหนทางอีกทางหนึ่ง (Alternative) มาแก้ปัญหา, รวมไปถึงสิ่งที่เราคิดว่า มันทำไม่ได้ หรือน่าหัวเราะด้วย ยกตัวอย่างเช่น พยายามคิดถึง ความตรงกันข้าม กับสิ่งที่เป็นปกติเท่าที่คิดขึ้นมาได้ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา จากนั้นก็ลงมือทำมัน อย่างจริงจังและประณีต
นอกจากนี้ ในหลายๆ สถานการณ์ที่มีการเผชิญหน้า หรือในที่ประชุม…ถ้าเผื่อว่าเรามีความเห็นอย่างหนึ่ง และอีกคนมีความเห็น ตรงข้ามกันกับเรา, ให้เราพยายามจินตภาพถึง ความคิดเห็นของคนๆนั้น ดูทีในเชิงกลับกัน จดบันทึกถึงเหตุผลทั้งหมดว่า ทำไมความเห็นของเขาจึงใช้การได้; ต่อจากนั้นลองบันทึกถึงเหตุผลทั้งหมดว่า ทำไมความคิดเห็นของเขาจึงใช้การไม่ได้; และในท้ายที่สุด จดบันทึกถึงสิ่งที่ไม่เข้าประเด็น หรือสอดคล้อง. ผู้คนเป็นจำนวนมากต้องตกอยู่ในสภาพการณ์ ที่ยากลำบาก โดยการไม่ลงรอยกันในการอธิบาย, การกล่าวหากัน และการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง, แทนที่จะ ควบคุม ความคิด ของพวกเขาต่อการกระทำ และการตัดสินใจว่า อะไรสามารถทำได้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว.
เราเคยทราบไหมว่า…มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้ถูกทำขึ้นมาโดยผ่าน การค้นพบโดยบังเอิญ (Serendipity) หรือการค้นพบบางสิ่ง ขณะที่กำลังค้นหาบางสิ่งอยู่; และให้จำไว้ว่า, สิ่งนี้ได้ทำให้คนที่มี ความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงโอกาสอันหนึ่ง เมื่อมันเสนอตัวของมันเองออกมา. ในภาวะฉุกเฉิน ผู้คนมีแนวโน้มที่จะตกอกตกใจหรือบ้าคลั่ง แทนที่จะใช้หัวสมอง เพื่อกำหนดตัดสินใจถึงทางเลือกต่างๆของพวกเขา.
สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดหนึ่งของคนเรา ซึ่งควรแก้ไขให้ถูกต้องก็คือ …ผู้คนส่วนใหญ่มักยึดถือความคิดเห็น หรือทัศนะต่างๆ ของตนเอาไว้ ทั้งนี้เพราะ พวกเขาได้ถูกล้อมกรอบเอาไว้ด้วยอารมณ์ความรู้สึก หรือเหตุผลในเชิงอคติต่างๆ. การที่เราจะขยับ ขยาย แนวคิดของเราออกไปให้กว้างขวาง เพื่อคลุมถึงความคิดเห็น ในทางตรงข้ามจากจุดยืนของเรา, บ่อยครั้งจะต้องปลด เปลื้องพันธนาการจากการถูกจำกัดเช่นนี้ให้ได้ และให้เร็ว (ลบอคติออก และไม่ใช้เรื่องอารมณ์ความรู้สึกมาเป็นพันธนาการ). ขณะที่สหรัฐอเมริกามีแนวโน้มนำโลกไปสู่อาชญากรรม, การติดยาเสพติด และการมีหนี้สิน, ญี่ปุ่นกลับมีอาชญากรรม เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และไม่ค่อยมีผู้ติดยาเสพติด , มีความสามารถที่จะชำระหนี้ และเป็นชาติที่มีการศึกษาในโลก. เราคิดกันไหมว่า เหตุผลต่างๆ ในเชิงอคติ และอารมณ์ความรู้สึก ทำให้ทางการสหรัฐจำกัด ตนเองจากการเรียนรู้ จากตัวอย่าง ของญี่ปุ่น หรือมันมีเหตุผลอื่นๆหรือ ?
…พอพูดกันมาถึงตรงนี้ ลองทดลองกับเพื่อนของเรา ที่มีสมมุติฐานหรือความเห็นในเชิงตรงข้าม เพื่อดูว่ามันนำพาเราไป ณ ที่ใด. เปิดใจของเราให้กว้างและคิดแบบเถื่อนๆ

1 ความคิดเห็น: