วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานในสถานศึกษาของเขมิกา แก่นเมือง

การบริหารงานควรประกอบด้วย
1.มีวิสัยทรรศน์หรือสร้างวิสัยทรรศน์ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
2.กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการบริหารสถานศึกษา
3.การมีส่วนร่วมในการวางแผนการศึกษา

ในการดำเนินงานใดๆ ก็ตามให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งคือ

การวางแผน (Planning) เพราะการวางแผนช่วยกำหนด จุดมุ่งหมาย (gold) วัตถุประสงค์ (objectives) เป้าหมาย (targets) และวิธีการ (procedures) ของการดำเนินงาน (ศิริชัย กาญจนาวาสี. 2537 : 124) การจัดการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากการวางแผนในการจัดการศึกษาจะเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำพาให้การจัดการศึกษาไปสู่เป้าหมายของความสำเร็จได้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2543 : 29)
ดังนั้นเพื่อให้การวางแผนการจัดการศึกษาเป็นไปเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียน และสถานศึกษา ตลอดจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ บุคลากรทุกฝ่ายในองค์การควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษา แสดงให้เห็นว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่เพียงใดนั้น
ปัจจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ในการวางแผนจัดการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาให้โรงเรียนมีสัมฤทธิ์ผลอย่างมากยิ่งขึ้นการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของการวางแผนพัฒนาการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 10 หัวข้อ ดังนี้
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย
3. การกำหนดมาตรการ
4. การกำหนดเป้าหมาย
5. การจัดทำแผนงาน งาน/โครงการ
6. การกำหนดวงเงินค่าใช้จ่าย
7. การจัดทำแผนพัฒนาประจำปี หรือแผนเสนอของบประมาณประจำปี
8. การปฏิบัติตามแผนพัฒนาที่ได้รับงบประมาณ
9. การติดตามประเมินผลแผน
10. การทบทวนปรับปรุงแก้ไขในแต่ละปี
การมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษาจึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่ามีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างใด และบุคลากรจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนและกิจกรรมนั้นอย่างไรจึงจะทำให้การดำเนินการจัดการศึกษานั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ